แฟลชม็อบ

รวมเกมส์คาสิโนสด เล่นจริง ได้จริง ส่งตรงจากคาสิโนจริงๆ

สล็อต
แฟลชม็อบ

แฟลชม็อบ การต่อสู้ระหว่างกลุ่ม “ฟันน้ำนม” กับ “ฟันปลอม”

แฟลชม็อบ

แฟลชม็อบ นักศึกษาที่เรียกตัวเองว่ากลุ่ม “เยาวชนปลดแอก” (FreeYOUTH) เตรียมกลับมาเคลื่อนไหวอีกครั้งในวันที่ 1 ส.ค. นี้ แม้ระบุว่า “ยังไม่ใช่การชุมนุมใหญ่” หลังครบกำหนด 2 สัปดาห์ที่พวกเขายื่น 3 ข้อเรียกร้องถึง “ผู้มีอำนาจ

แต่นักวิชาการด้าน ประวัติศาสตร์ และนักกิจกรรมการเมืองประเมินว่าความเคลื่อนไหวของเครือข่าย นักศึกษา สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อชนชั้นนำโดยตรง และสุดท้ายอาจต้องเจรจาเพื่อจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจใหม่ 18 ก.ค. ถือเป็นจุดเริ่มต้นภาคต่อของแฟลชม็อบ ก่อนเกิดการชุมนุมย่อยและการจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ตามมาอีกอย่างน้อย 20 จุดภายในเวลาสัปดาห์เศษ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ทั้งในพื้นที่สาธารณะและตามสถาบันการศึกษาต่าง ๆ

สิ่งที่สังคมเห็นคือ “สำนึกทางการเมือง” ของนักศึกษา แต่ภาพที่ยังไม่ปรากฏแน่ชัดคือศูนย์กลางของขบวนการเคลื่อนไหว ฉีกขนบการชุมนุมทางการเมืองแบบในอดีต

นายสมบัติ บุญงามอนงค์ นักกิจกรรมการเมืองที่รู้จักในชื่อ “บก. ลายจุด” ให้ความเห็นว่าศูนย์กลางการเคลื่อนไหวที่ กรุงเทพฯ แม้มีอิทธิพลต่อการเกิด แฟลชม็อบแบบดาวกระจายขึ้น แต่ไม่เป็นอิทธิพลต่อการสั่งการ ซึ่งเป็นธรรมชาติของคนกลุ่มนี้

“ภาษาวัยรุ่นเรียกว่าพอมีคนเปิดก็มีคนตาม ภาพที่เราเห็นตอนนี้คือดาวกระจายแบบตามกันไปโดยอิสระ… ผมว่ารัฐบาลประยุทธ์ยังเอาไม่อยู่นะ นอกจากเอาไม่อยู่ ยังประเมินไม่ถูกเลย แม้แต่ผมเองยังรู้สึกว่าเป็นเรื่องใหม่มาก ต้องรอดูอีกระยะหนึ่งเลย” นักกิจกรรมการเมืองวัย 52 ปีกล่าวกับบีบีซีไทย

ย้อนกลับไปเมื่อเดือน ก.พ. นักเรียน นิสิต นักศึกษาจำนวนหนึ่งได้ออกมาชุมนุม “ทวงคืนความยุติธรรม” ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) ก่อนพัฒนาเป็นสารพัดข้อเรียกร้องซึ่งสะท้อนความกังวลใจต่อการฝากอนาคตของพวกเขาไว้ภายใต้การบริหารประเทศของรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทว่าทุกความเคลื่อนไหวที่ปรากฏต้องถูกเก็บ-กดไว้ชั่วคราวจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)

4 เดือนผ่านไป เยาวชนกลับมาอีกครั้ง ทว่าไม่ใช่ภายในรั้วโรงเรียน/มหาวิทยาลัย บางส่วนใช้ท้องถนนเป็นพื้นที่ประกาศความคิด

นักเคลื่อนไหวต่อต้านคณะรัฐประหารรุ่นพี่จากปี 2549 ถึง 2557 อย่างนายสมบัติระบุว่า “การรักษาแนวร่วม” คือข้อพึงระวัง เมื่อก้าวออกนอกมหาวิทยาลัย ต้องพิจารณาผลกระทบของการเคลื่อนไหวแล้วไม่ไปทำลายแนวร่วม เพราะนอกจากจะไม่ได้คนมาเพิ่มแล้ว ยังต้องเผชิญกับแรงต้าน และอาจปวดหัวหนักหากรัฐได้พลังแนวร่วมจากผู้ได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนไหวไป

แปรพลังออนไลน์สู่ออฟไลน์

แม้ผ่านประสบการณ์จัดการชุมนุมและเปิดปฏิบัติการป่วนประสาทรัฐไทย มานับครั้งไม่ถ้วน แต่ บก.ลายจุด ยอมรับว่าตื่นตาตื่นใจ เพราะเป็นการแปรพลังจากโลกออนไลน์สู่ออฟไลน์อย่างแท้จริง จากเคยเห็นแฮชแท็กที่มีผู้เข้าไปแสดงความคิดเห็นที่มีขนาดเพียงพอจะปั่นให้มันขึ้นสู่ 5 อันดับยอดนิยมในทวิตเตอร์ได้ แหล่งช๊อปปิ้งออนไลน์

  • เป็นการปรากฏตัวของผู้ใช้งานทวิตเตอร์ที่ก้าวออกจากจอคอมพิวเตอร์-วางโทรศัพท์มือถือลง แล้วมาร่วมชุมนุม
  • เลิกพิมพ์ข้อความบนจอ แต่เขียนมันลงกระดาษเอสี่
  • กล้าปรากฏหน้า-แสดงตัวตนแท้จริง จากเคยเป็นอวตาร หรือ “แอคหลุม” อยู่ในทวิตภพ

“ต้องเข้าใจวิวัฒนาการใน ทวิตเตอร์ ที่เด็ก ๆ ใช้กัน เพราะเขาเบื่อสถานะตัวเองในเฟซบุ๊กที่มีพ่อแม่ มีผู้ใหญ่ชอบมาตาม มาวุ่นวายกับชีวิตเขา ไม่มีความเป็นส่วนตัว เขาจึงหนีจากรูปแบบเครือข่ายเฟซบุ๊กเข้าไปในทวิตเตอร์ เขาจึงไม่ใช้หน้าจริง และใช้เป็นพื้นที่ปลดปล่อยความคิดจินตนาการของเขา แล้วมันก็โตมา ถึงจุดหนึ่งจากความเป็นอวตารมาเล่นอยู่ในออฟไลน์ ผมคิดว่านี่เป็นภาพที่น่าประทับใจ และน่าสนใจว่าเขาสามารถออกมาจากคอมพิวเตอร์ได้” นายสมบัติ ผู้มีบุตรสาวในวัยไล่เลี่ยกับแฟลชม็อบกล่าว

“ฟันน้ำนม” VS “ฟันปลอม”

หาก “ทีวีจอสี” คืออาวุธสำคัญในการสื่อสารความคิดของแกนนำ “ม็อบเหลือง-แดง-นกหวีด” ในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา เฟซบุ๊กไลฟ์และแฮชแท็กก็เป็น “อาวุธใหม่” ของเครือข่ายนักศึกษาที่ก่อให้เกิดการรวมกลุ่ม-กระตุ้นอารมณ์ร่วมได้ทุกที่ทุกเวลา แม้ตัวไม่ได้อยู่ในสถานที่ชุมนุมก็ “ม็อบออนไลน์” ได้ แต่ถึงกระนั้นนายสมบัติยืนยันว่าจำนวนคนบนถนนยังมีความสำคัญ และขึ้นอยู่กับรัฐว่า จะรอจนเห็นจำนวนนั้นหรือไม่

เขาคาดการณ์ว่าเมื่อกระแสสูงมาถึง คนที่ดูไลฟ์อยู่จะปิดคอมพิวเตอร์/โทรศัพท์ แล้วลงถนน แต่เรื่องนี้ยังต้องใช้เวลาอีกยาวนาน

“เป็นการต่อสู้ที่เขาเรียกกันว่า ‘ฟันน้ำนมกับฟันปลอม’ กลุ่มฟันปลอมอย่างไรก็ต้องซัดกลุ่มฟันน้ำนมแน่นอน แต่มันจะมีคนอีกกลุ่มที่ไม่เป็นทั้งฟันปลอมและฟันน้ำนม คนพวกนี้รอดูท่าทีว่าเรื่องจะเป็นอย่างไร ใครก็แล้วแต่ที่ได้คนตรงกลางไปมากที่สุดหรือได้ไปทั้งหมด ก็จะเกิดภาวการณ์หน่วงเหนี่ยวคู่ต่อสู้ ถ้ารัฐไม่มีการสนับสนุนจากประชาชนก็จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ดังนั้นต้องไม่ลืมว่ากลุ่มเป้าหมายไม่ได้มีแค่คู่ต่อสู้ หรือพวกเราเท่านั้น” นายสมบัติกล่าว

การชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อ 18 ก.ค. ถูกมองว่าเป็นการชุมนุมใหญ่ที่สุดนับจากมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อรับมือกับโควิด-19 โดยมีผู้ร่วมชุมนุมราว 2,000 คน และ มีการถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์

สอดคล้องกับมุมมองของ ศ.ดร. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เห็นว่าความเคลื่อนไหวบนท้องถนนของนิสิตนักศึกษาพุ่งเป้าไปสู่ความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แม้สอดคล้องกับความต้องการของคนกลุ่มใหญ่ในสังคม ทว่าบางส่วนอาจยัง “รอดู” ไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมอย่างจริงจัง เพราะไม่มั่นใจว่าความเปลี่ยนแปลงนั้นคืออะไร และจะนำไปสู่อะไร

สนับสนุนโดย : Slotxo / สมัครSlotxo / Slotxo / สล็อต / เกมยิงปลา